อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์

          “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” (Albert Einstein) ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์” มีเชื้อยิว – เยอรมัน เป็นผู้ให้กำเนิดระเบิดปรมาณู เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีแห่งความสัมพัทธ์ และเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์

          ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 ปีต่อมาครอบครัวก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปเมืองมิวนิค อาศัยอยู่ที่นี่จนถึงอายุ 15 ปี เขามีจิตใจรักในทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุแค่ 6 ปี พออายุ 12 ปี ก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้ย้ายตามครอบครัวจากมิวนิคไปที่มิลาน ประเทศอิตาลี เขาเรียนเก่งทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ จึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้ ทั้งที่ตกวิชาภาษาศาสตร์ สัตวศาสตร์ และพฤกษศาสตร์

          หลังจากจบการศึกษาในปี ค.ศ.1900 ก็ทำงานเป็นครูสอนทางไปรษณีย์อยู่ 2 ปี จึงได้งานทำเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ในสถาบันแห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1921 และได้รับเชิญไปปาฐกถาตามประเทศต่างๆ ในปี ค.ศ.1933 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐฯ เป็นช่วงที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำการกวาดล้างชาวยิว ไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็นพลเมืองชาวเยอรมัน เขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐฯ โดยทำงานอยู่ที่สถาบันการศึกษาปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้รับสัญชาติอเมริกันในปี ค.ศ. 1941

          เขาได้รับการยกย่องอย่างสูงก็ด้วยเหตุที่เขาคิดค้นทฤษฎีแห่งความสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้าและทรรศนศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่า เป็นผู้มีผลงานสำคัญอันเป็นผลประโยชน์ต่อทฤษฎีแควนตัมและทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับความโน้มถ่วง เขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งความนึกคิดในสมัยโคเปอร์นิคัส (นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์) ก็ได้ถูกเขาหักล้างหลายประการ ตราบเท่าชีวิตของเขาๆ ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่งวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย เขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1955

ที่มา :: บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

Tags: ชีวประวัติบุคคลสำคัญ, บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์, บุคคลสำคัญ, บุคคลสำคัญของโลก, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ไอน์สไตน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *