ทำไมของ 1 โหลต้องมี 12 ชิ้น

 

          จำนวน 12 ในหนึ่งโหลของไทยนั้นสัมพันธ์กับระบบนับจำนวนของต่างชาติ ซึ่งมีคำว่า “dozen” (โดซเซ่น) หมายถึง 12 เช่นเดียวกัน

          ย้อนกลับไปหาที่มาคำว่า “dozen” ถือกำเนิดจากชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นชนชาติแรกที่สร้างสัญลักษณ์การนับตัวเลขในชีวิตประจำวันด้วยการเปล่งเสียงเรียก

          ต่อมาในช่วง 3,100 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียนเขียนจำนวนตัวเลขเป็นรูปลิ่ม และสร้างระบบจำนวนขึ้นมา จากฐาน 60 ซึ่งง่ายต่อการหารด้วยจำนวนต่างๆ แบ่งเป็นแฟ็กเตอร์ (ส่วนที่คูณกันขึ้นเป็นจำนวน) ได้แก่ 2, 3, 4, 5, 6, 10, 12, 15, 20, และ 30 คำว่า “dozen” มีความหมายมาจาก “5 ส่วนของ 60″ (12 คูณ 5 เท่ากับ 60) ภาษาละตินหมายถึง 12

          ขณะที่ชาวโรมันถือว่าเลข 12 เป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมาสร้างระบบการนับปี แบ่งให้มี 12 เดือน ส่วนพ่อค้าแม่ขายในในสมัยโบราณก็นิยมใช้ 12 ขายของ เพราะสะดวกและแยกส่วนได้ง่ายกว่าเลข 10 และใช้เรื่อยมาจนทุกวันนี้

          นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า ในช่วงยุคกลางของอังกฤษ พ่อค้าขนมปังจะต้องถูกลงโทษหนัก หากตัดขายขนมปังในน้ำหนักที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ขณะที่พ่อค้าขนมปังในยุคนั้นก็ไม่ได้มีความรู้นับจำนวนอะไร กลัวจะพลาดระหว่าง 11 ก้อนกับ 12 ก้อน จึงหันไปใช้วิธีกันเหนียว คือตัดขนมปัง 13 ก้อน เวลาที่จะขายขนมปังหนึ่งโหล กรณีนี้หนึ่งโหลเลยมี 13 ชิ้น ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก

          ส่วนนักจิตวิทยาบางคนเคยทดสอบความแตกต่างระหว่างคนที่ชอบเลข 12 มากกว่าเลข 10 ว่าเป็นคนที่ยืดหยุ่นและอ่อนโยนกว่า อันนี้ก็ฟังไว้เล่นๆ ได้ ข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดียระบุว่า โหลมาจากภาษาอังกฤษว่า “Dozen” รากศัพท์ภาษาละตินว่า “duodecim” เชื่อว่าเป็นการนับเลขรวมกลุ่มแบบแรกๆ เพราะตัวเลข 12 มาจากฐานการนับรอบดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ รู้จักว่าเป็นระบบจำนวนฐานสิบสอง หรือ “ทวาทิศนิยม” (duodecimal system) 12 โหลเรียกว่า 1 กุรุส (a gross) การนับโหลสะดวกสบาย เพราะตัวคูณและพหุคูณคิดได้ง่าย เช่น 12 เท่ากับ 3 X 2 X 2 หรือ 360 เท่ากับ 20 X 3 (ตอบเมื่อ 23 ม.ค. 2545)

ขอขคุณข้อมูลดีๆ จาก :: รู้หรือไม่ จาก Msolution

ที่มา : คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น จาก sanook.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *